คอโมโรส : หน้าใหม่ที่บอกลาได้น่าประทับใจ

เมื่อวันจันทร์ที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา บรรดาแฟนบอลชาวแคเมอรูนต่างยินดีปรีดากันทั่วที่ทีมชาติแคเมอรูนของพวกเขาผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศเว็บเล่นบอลออนไลน์ถูกกฎหมายของศึก แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ 2021 ได้สำเร็จ จากการที่เอาชนะ คอโมโรส ไปได้ ส่งผลให้ชาติเจ้าภาพของรายการนี้ยังอยู่ในเส้นทางการลุ้นแชมป์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของ คอโมโรส เองก็ถือว่าน่าประทับใจมากพอตัวเหมือนกัน เพราะพวกเขามีช่วงเวลาและเรื่องราวที่น่าสนใจหลายอย่างก่อนที่จะต้องเก็บของกลับบ้านด้วยฝีเท้าของเจ้าถิ่น

อย่างแรกเลย นี่ถือเป็นครั้งแรกที่ คอโมโรส ได้สิทธิ์ลงเล่นศึก แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ รอบสุดท้าย ทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งใน 2 ชาติที่เพิ่งประเดิมรายการนี้ โดยอีกหนึ่งชาติคือ แกมเบีย ซึ่งมันไม่น่าแปลกใจเลยหากหลายท่านจะไม่รู้จักประเทศนี้มาก่อน เพราะพวกเขาเป็นชาติที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไร โดยจากการสำรวจประชากรนั้นพบว่าพวกเขามีประชากรเพียง 850,886 คนเท่านั้น ส่วนพื้นที่โดยรวมของประเทศก็อยู่ที่ 1,861 ตารางกิโลเมตร

ที่จริง คอโมโรส เข้าเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลแอฟริกามาตั้งแต่ปี 2003 แต่พวกเขาก็ต้องใช้เวลาหลายปีกว่าที่จะได้ลงเล่นศึกชิงแชมป์ระดับทวีปเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ได้ โดยในรอบคัดเลือกนั้นพวกเขาอยู่กลุ่มเดียวกับ อียิปต์, เคนย่า และ โตโก ก่อนที่จะจบรอบนี้ด้วยการเป็นรองแชมป์กลุ่ม

พอถึงรอบสุดท้ายจริงๆ พวกเขาก็ทำท่าว่าจะต้องจอดป้ายอย่างรวดเร็วเมื่อแพ้ กาบอง 0-1 และพ่าย โมร็อกโก 2-0 ทำให้ในนัดสุดท้ายพวกเขาจำเป็นต้องชนะ กานา ให้ได้สถานเดียวหากหวังจะเข้ารอบเป็นหนึ่งในอันดับ 3 ที่ดีที่สุด ซึ่งฟังแล้วมันก็เป็นเรื่องยากสุดๆ เมื่อพิจารณาถึงการที่ “ดาวดำ” มีชื่อชั้นใหญ่กว่า, มีประสบการณ์มากกว่า รวมถึงมีขุมกำลังโดยรวมที่เหนือกว่า อย่างเช่นการมี โธมัส ปาร์เตย์ กองกลาง อาร์เซน่อล อยู่ในทีม

อย่างไรก็ตาม คอโมโรส ก็ทำเรื่องที่น่าเหลือเชื่อขึ้นมาได้ด้วยการเอาชนะ กานา ไป 3-2 โดยพวกเขามาได้ประตูชัยในช่วง 5 นาทีสุดท้ายด้วย จนทำให้ คอโมโรส เข้ารอบน็อกเอาต์ได้แบบหักปากกาเซียน

ทั้งนี้ ก่อนเกมกับ แคเมอรูน เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมานั้น คอโมโรส ได้รับข่าวร้ายเมื่อ อาลี อฮามาด้า กับ โมยาดห์ อูสเซนี่ ผู้รักษาประตูมือ 2 กับ 3 ตามลำดับ หมดสิทธิ์ลงเล่นเกมรอบ 16 ทีมสุดท้าย ตามมาตรการรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19

รายของ อูสเซนี่ นั้น มีผลตรวจเป็นบวกจริงๆ แต่กรณีของ อฮามาด้า ที่จริงตอนแรกมีผลตรวจเป็นลบ ถึงกระนั้น จากการที่สมาพันธ์ฟุตบอลแอฟริกาประกาศเปลี่ยนกฎกลางคันทำให้ อฮามาด้า จำเป็นต้องรับการกักตัวและหมดสิทธิ์ลงเล่นไปด้วย

การที่ทั้งนายทวารมือ 2 กับมือ 3 หมดสิทธิ์ลงเล่น ทำให้หมายควมาว่า คอโมโรส “ไม่มีผู้รักษาประตูตามธรรมชาติ” ให้ใช้งานในการเจอกับชาติเจ้าภาพ เพราะว่า ซาลิม เบน บัวน่า นายด่านมือ 1 ได้รับบาดเจ็บตรงหัวไหล่ตั้งแต่นัดเปิดสนามจนต้องพักระยะหนึ่งไปก่อนแล้ว

ด้วยเหตุนี้ คอโมโรส เลยจำเป็นต้องให้นักเตะที่เหลือทุกคนมาทดสอบการป้องกันประตู เพื่อดูว่าใครที่จะพอช่วยทีมในยามคับขันได้ ซึ่งสุดท้ายคนที่ทำผลงานการเป็นนายทวารในการซ้อมได้น่าประทับใจที่สุดก็คือ ชาเกอร์ อัลฮัดฮูร์ แบ็กซ้ายจาก อฌักซิโอ ทีมใน ลีก เดอซ์ ฝรั่งเศส ที่ปัจจุบันมีอายุ 30 ปี

ทั้งนี้ อัลฮัดฮูร์ จำเป็นต้องเอาเทปมาแปะเป็นเบอร์เสื้อปลอมๆ ด้วยซ้ำ เพราะที่จริงเขาลงทะเบียนด้วยการเป็นเจ้าของเสื้อเบอร์ 3 แต่ตอนนั้นทีมไม่มีชุดแข่งของนายทวารมากพอที่จะทำเบอร์ให้เขาเป็นกรณีพิเศษอีกแล้ว หลังจากตอนแรกมีการสกรีนนามสกุลของเขาลงบนเสื้อผู้รักษาประตูได้ แต่กลับแก้ไขเรื่องเบอร์กันไม่ทัน

หากสงสัยว่าทำไมถึงไม่มีการเลื่อนเกมนี้ไปก่อนนั้น มันก็ต้องชี้แจงก่อนว่ากฎของสมาพันธ์ฟุตบอลแอฟริกากำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าถ้าเกิดทีมไหนก็ตามมีนักเตะที่ฟิตพอจะลงเล่นอย่างน้อย 11 คนแล้วล่ะก็ พวกเขาก็ต้องลงเล่นสถานเดียว โดยกฎที่ออกมามันไม่สนใจด้วยว่าทีมนั้นๆ จะมีนายทวารที่พร้อมลงเล่นอย่างต่ำสัก 1 คนรึเปล่า

นอกจากนี้ อามีร์ อับดู กุนซือของ คอโมโรส ก็หมดสิทธิ์คุมทีมลงเล่นที่ข้างสนามในเกมนี้ จากการที่ติดเชื้อโควิด-19 เหมือนกัน แถมนอกจากจะเสียเปรียบหลายด้านตั้งแต่ก่อนลงเล่นแล้วนั้น คอโมโรส ก็ยังต้องเหลือนักเตะแค่ 10 หลังจากเตะไปเพียง 7 นาทีอีก จากการที่ น๊าดฌิม อับดู โดนใบแดงไล่ออกจากสนาม

ด้วยเรื่องราวทั้งหมดทำให้หลายคนคงคิดว่า คอโมโรส จะแพ้ด้วยสกอร์ที่ขาดลอย แต่กลับกลายเป็นว่า แคเมอรูน ชนะไปด้วยสกอร์เพียง 2-1 เท่านั้น ขณะที่ อัลฮัดฮูร์ นายด่านขัดตาทัพในเกมนี้ก็โชว์ฟอร์มเซฟได้โดดเด่นพอตัว อย่างเช่นชอตที่เซฟ 2 หนติดกัน

แน่นอนว่าการแพ้ก็คือการแพ้ มันไม่มีอะไรที่สามารถลบล้างข้อเท็จจริงแบบนั้นได้ แต่อย่างน้อย คอโมโรส ก็ประเดิมการเล่น แอฟริกัน เนชั่นส์ คัพ ได้น่าพอใจในระดับหนึ่ง และก็ต้องรอดูกันว่าพวกเขาจะนำประสบการณ์ในครั้งนี้ไปเป็นแรงกระตุ้นสำหรับภายภาคหน้าได้มากน้อยแค่ไหน