ก.ล.ต.เล็งสอบ ปั่น “KUB – JFIN – SIX” หลังพบความผิดปกติราคาผันผวนรุนแรง

 

ก.ล.ต. เล็งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความผิดปกติของ “KUB , JFIN และ SIX” 3 เหรียญคริปโตไทย หลังพบว่า 3 เหรียญดังกล่าวอาจมีผู้อยู่เบื้องหลัง ที่มาจากการสร้างราคา หรือการให้ข่าวเพื่อปั่นราคา เนื่องจากมีการปรับขึ้นของราคาที่ผันผวนและรุนแรงในช่วงเวลาที่รวดเร็ว

นายศักรินทร์ ร่วมรังษี รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยผ่านรายการโทรทัศน์ว่า จากการปรับตัวขึ้นและลดลงของราคา Cryptocurrency ของไทยอย่างรวดเร็วและมีความผันผวนสูง เช่น KUB , JFIN และ SIX ในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งทางก.ล.ต.ได้มีความเป็นห่วงในประเด็นดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามการตรวจสอบของทาง ก.ล.ต.จะต้องพิจารณาจาก 2 เรื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของราคาซื้อขาย Cryptocurrency ในตลาด

อย่างไรก็ดี ในกรณีแรกหากการเคลื่อนไหวของราคาซื้อขาย Cryptocurrency ในกระดานเทรดมีความผันผวนผิดปกติที่มาจากการสร้างราคา หรือการให้ข่าวเพื่อปั่นราคา หรือการใช้ข้อมูลภายในในการสร้างราคาแทงหวย24ซื้อขาย (Insider trading) ในกรณีนี้ทาง ก.ล.ต.สามารถเข้าไปกำกับดูแลได้ตามกฎหมายตาม พ.ร.บ.สินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561

ขณะที่ในส่วนของกรณีที่ 2 ซึ่งเกิดจากกการความผันผวนตามธรรมชาติที่เป็นไปตามภาวะของตลาด ทำให้ส่งผลต่อราคาซื้อขาย Cryptocurrency ในกระดานมีการปรับตัวตามอุปสงค์-อุปทาน ซึ่งในกรณีนี้ ก.ล.ต. นี้ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามภาวะของตลาด ซึ่งไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติในการที่มีคนเข้าไปสร้างหรือปั่นราคาขึ้นมา โดยที่การตรวจสอบของ ก.ล.ต. จะต้องดูข้อมูลจากทั้ง 2 เรื่อง เพื่อนำมาพิจารณาประกอบการตรวจสอบ

“เราก็ตกใจเหมือนกันที่มีสถานการณ์แบบนี้ แต่ประเทศไทยต้องยอมรับว่าเรามีการออกใบอนุญาตในการให้ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่แล้ว มี Exchange ที่ได้รับใบอนุญาต โดยคริปโต ฯ ก็คล้ายกับหุ้น ฟิวเจอร์ ออฟชั่น ที่มีความผันผวน แต่อาจจะมีความผันผวนมากกว่า สิ่งที่ ก.ล.ต. จะพิจารณาตรวจสอบจะต้องดู 2 เรื่อง ว่าเป็นความผิดปกติที่มาจากการปั่นราคาหรือไม่ หรือมาจากความผันผวนที่เป็นไปตามภาวะของตลาด ก็อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล และคาดว่าจะดำเนินการไม่ช้าน่าจะได้ข้อสรุปออกมา” นายศักรินทร์ กล่าว

อย่างไรก็ดีต้องยอมรับว่าปัจจุบันมีนักลงทุนที่สนใจเข้ามาลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก โดยที่มูลค่าการซื้อขายในเดือน พ.ย. 64 มีมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 2.5 พันล้านบาท จากเดือน ธ.ค. 63 ที่มีเพียง 26 ล้านบาท จากการที่มีนักลงทุนให้ความสนใจและเห็นโอกาสในการลงทุน ทำให้มีนักลงทุนเข้ามาลงทุนเป็นจำนวนมากขึ้น จะเห็นได้จากจำนวนบัญชีของนักลงทุนในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นมาเป็น 1.6 ล้านบัญชี จากสิ้นปีก่อนที่ 170,000 บัญชี

ส่วนแนวความคิดในการกำหนดเพดานราคาขึ้นลงเกณฑ์ Celling & Floor ของการซื้อขาย Cryptocurrency เหมือนกับการซื้อขายหุ้นนั้นซึ่งขณะนี้ทาง ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องดังกล่าว และต้องดูหลักการของทั่วโลกด้วยเช่นกันว่าการควบคุมเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบันการกำหนดเกณฑ์ Celling & Floor ยังไม่มีประเทศใดทำเกณฑ์ดังกล่าวขึ้นมา ทำให้การดูแลตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลของ ก.ล.ต. ต้องสอดคล้องกับเกณฑ์ของประเทศอื่น ๆ ด้วย

ส่วนการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมาแสดงความกังวลการนำ Cryptocurrency ไปใช้ในการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการ ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหญ่ต่าง ๆ ออกมาจับมือร่วมกับผู้ประกอบการสินทรัพย์ดิจิทัล และเริ่มเปิดให้บริการนำ Cryptocurrency มาแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้าและบริการมากขึ้น ในส่วนนี้จะต้องเป็นการกำกับดูแลของ ธปท. ซึ่งทาง ก.ล.ต.มองว่าการที่ ธปท.แสดงความกังวลออกมานั้น อาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่กระทบต่อกฎระเบียบเกี่ยวกับการชำระเงินของ ธปท. ซึ่งยังคงต้องรอทาง ธปท.ออกมาชี้แจงในเรื่องดังกล่าวต่อไป